เมนู

ฐานว่า กรรมฐานนี้ มีลักษณะอย่างนั้น. ภิกษุเมื่อเรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ
5 อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก ทั้งไม่ต้องรบกวนอาจารย์ให้ลำบาก. เพราะ
ฉะนั้น ควรเรียนอาจารย์ให้บอกแต่น้อย สาธยายตลอดเวลาเป็นอันมาก ครั้น
เรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ 5 อย่างนั้นแล้ว ถ้าในอาวาสนั้น มีเสนาสนะเป็น
ต้นเป็นที่สบายไซร้ ควรอยู่ในอาวาสนั้นนั่นแล ถ้าในอาวาสนั้น ไม่มีเสนาสนะ
เป็นที่สบายไซร้ ควรบอกลาอาจารย์ ถ้าเป็นผู้มีปัญญาอ่อน ควรไปสิ้นระยะ-
โยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้มีปัญญากล้าก็ควรไปแม้ไกล (กว่านั้น) ได้
แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์แห่งเสนาสนะ 5 อย่าง เว้นเสนาสนะ
ที่มีโทษ 18 อย่าง แล้วพักอยู่ในเสนาสนะนั้น ตัดปลิโพธหยุมหยิมเสีย ฉัน-
ภัตตาหารเสร็จแล้ว บรรเทาความเมาอาหาร ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการอนุสรณ์
ถึงคุณพระรัตนตรัย ไม่หลงลืมกรรมฐานแม้บทหนึ่ง แต่ที่เรียนเอาจากอาจารย์
พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้. ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ มีความ
สังเขปเท่านี้. ส่วนความพิสดาร นักศึกษาผู้ต้องการกถามรรคนี้ พึงถือเอาจาก
ปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

[วิธีมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐาน 8 อย่าง]


ก็ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ มี
มนสิการวิธีดังต่อไปนี้:- คือ การนับ การตามผูก การถูกต้อง การหยุด
ไว้ การกำหนด การเปลี่ยนแปลง ความหมดจด และการเห็นธรรมเหล่านั้น
แจ่มแจ้ง.
การนับนั่นแล ชื่อว่า คณนา. การกำหนดตามไปชื่อว่า อนุพันธนา.
ฐานที่ลมถูกต้อง ชื่อว่า ผุสนา. ความแน่วแน่ชื่อว่า ฐปนา. ความเห็น
เห็นแจ้ง ชื่อว่า สัลลักขณา. มรรค ชื่อว่า วิวัฏฏนา. ผลชื่อว่า ปาริสุทธิ.
การพิจารณา ชื่อว่า เตสัญจ ปฏิปัสสนา.